您现在的位置是:DailyThai > ฮอตสปอต
【ตรวจรางวัลวันที่ 16 พฤษภาคม】ย้อนรอยปลาหมอคางดำปัญหาที่ยังแก้ไม่สำเร็จ | เดลินิวส์
DailyThai2025-01-10 00:54:31【ฮอตสปอต】3人已围观
简介ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการรุกรานของสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่นหรือ”เอเลี ตรวจรางวัลวันที่ 16 พฤษภาคม
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการรุกรานของสิ่งมีชีวิตชนิดพันธุ์ต่างถิ่นหรือ”เอเลี่ยนสปีชีส์”ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจของประเทศ หนึ่งในผู้รุกรานที่น่ากังวลที่สุดคือ “ปลาหมอคางดำ”
ย้อนรอยปลาหมอคางดำปัญหาที่ยังแก้ไม่สำเร็จเดลินิวส์ปลาหมอคางดำ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแอฟริกาตะวันตก ตั้งแต่ประเทศมอริเตเนียจนถึงประเทศแคเมอรูน รวมตัวเป็นฝูง อาศัยในน้ำจืด เช่น ปากแม่น้ำ และน้ำเค็ม โดยในแอฟริกาทางตะวันตกจะพบได้เฉพาะในทะเลสาบน้ำกร่อยและปากแม่น้ำ จากนั้นได้มีการนำเข้าสู่หลายประเทศในเอเชีย สหรัฐอเมริกา และยุโรป แต่ในประเทศไทยปลาหมอคางดำเข้ามาได้อย่างไร คนถามนี้หลายคนสงสัย
ย้อนรอยปลาหมอคางดำปัญหาที่ยังแก้ไม่สำเร็จเดลินิวส์“เดลินิวส์”เป็นสื่อที่แรกที่มองเห็นปัญหาถึงผลกระทบอันใหญ่หลวงที่จะเกิดขึ้นในระบบนิเวศ เนื่องจากเอเลี่ยนสปีซีส์ สายพันธุ์นี้กินเก่งกินจุกินทุกอย่างเช่น แพลงก์ตอนพืช และสัตว์ สาหร่าย เศษซากพืช ซากสัตว์ สารอินทรีย์ สาเหตุเพราะมันมีระบบทางเดินอาหารที่ยาว และมีระบบย่อยอาหารที่ทำงานได้ดี จนทำให้มันสามารถกินและย่อยได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อปลาหมอคางดำ รุกเข้าไปในพื้นที่ไหน พื้นที่นั้นก็มักจะพบว่าสัตว์น้ำท้องถิ่นลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว
ย้อนรอยปลาหมอคางดำปัญหาที่ยังแก้ไม่สำเร็จเดลินิวส์จากการที่สามารถกินอาหารได้หลากหลาย ส่งผลให้ปลาหมอคางดำสามารถเจริญเติบโตในสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่าง ยิ่งถ้าหลุดเข้าไปในฟาร์มกุ้ง แน่นอนเกษตรกรรายนั้น ถึงกลับหมดเนื้อหมดตัวได้เลยที่เดียว
ย้อนรอยปลาหมอคางดำปัญหาที่ยังแก้ไม่สำเร็จเดลินิวส์ดังนั้น”เดลินิวส์”จึงลุยค้นหาข้อมูลพบว่า”ปลาหมอคางดำเข้ามาในประเทศ ใน ปี 2549 คณะกรรมการด้านความหลากหลายและความปลอดภัยทางชีวภาพของกรมประมง (IBC) มีมติอนุญาตให้บริษัทเอกชนรายหนึ่งนำเข้าปลาหมอสีคางดำจากสาธารณรัฐกานา เพื่อนำมาปรับปรุงสายพันธุ์ปลานิลแบบมีเงื่อนไข ปี 2553 บริษัทนำเข้าปลาหมอสีคางดำ 2,000 ตัว มาเลี้ยงที่ศูนย์ทดลองในพื้นที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม จากนั้นปลาหมอสีคางดำได้ทยอยตายเกือบทั้งหมดภายใน 3 สัปดาห์ บริษัทจึงทำลายและฝังกลบซากปลา โดยการโรยด้วยปูนขาว และแจ้งให้กรมประมงทราบด้วยวาจา โดยไม่ได้จัดทำรายงานอย่างเป็นทางการ และเก็บซากปลาส่งให้กับกรมประมงตามเงื่อนไขการอนุญาตของคณะกรรมการ IBC แต่จากการเข้าไปตรวจสอบห้องเก็บตัวอย่างสัตว์อ้างอิงและธนาคารดีเอ็นเอ ภายในกรมประมง ที่กรมประมงของ คณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำโดย นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง รองประธานฯ กลับไม่พบซากปลาดังกล่าวตามที่บริษัทดังกล่าวอ้าง
ย้อนรอยปลาหมอคางดำปัญหาที่ยังแก้ไม่สำเร็จเดลินิวส์ต่อมา ปี 2555 เกษตรกรในพื้นที่ ต.ยี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม พบการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำเป็นครั้งแรกคำถามที่ว่าปลาหมอคางดำทำไมแพร่กระจายได้รวดเร็ว เพราะการดำรงชีพจะพบว่ามันสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ภายใน 1 ชั่วโมง อีกทั้งยังขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว โดยขยายพันธุ์ได้ทุก ๆ 22 วัน ปลาหมอคางดำเพศเมีย 1 ตัว มีไข่ประมาณ 50-300 ฟองวัน ใช้เวลาฟักไข่ในปากเพศผู้เพียง 4-6 วัน ก่อนจะดูแลตัวอ่อนประมาณ 2-3 สัปดาห์ไว้ในปากเช่นเดิม ส่งผลให้อัตราการรอดสูงกว่าปกติ และสามารถผสมพันธุ์ได้ทุกฤดูกาล จึงเป็นสาเหตุที่ปลาชนิดนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างมาก เนื่องจากนิสัยโดยทั่วไปของปลาหมอคางดำ มีความดุร้าย อีกทั้งยังมีความต้องการอาหารอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ปลาชนิดอื่น ๆ สูญพันธุ์ไปได้ด้วย
ย้อนรอยปลาหมอคางดำปัญหาที่ยังแก้ไม่สำเร็จเดลินิวส์เรื่องนี้ถือเป็นปัญหาระดับประเทศหลายภาคส่วนของรัฐรีบเร่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกรมประมง แต่การแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ก็ไม่ง่าย เพราะทั้งความคาราคาซังที่ปล่อยไว้นาน การระบาดที่รุนแรงจากการแพร่กระจายได้ง่าย ทั้งต้องทำงานแข่งกับเวลา รวมถึงยังมีอุปสรรคหน้างานเป็นข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน ซึ่งการแก้ไขเบื้องต้นมีหลากหลายรูปแบบ เช่น จัดแข่งขันจับปลาหมอคางดำด้วยการลากแหและอวน ระดมพลลงแขก ไปจนถึงการปล่อยปลาผู้ล่าสู่แหล่งน้ำ แม้แต่ทุ่มงบประมาณเพื่อจับมาทำปุ๋ยชีวภาพแจกจ่ายเกษตรกร และการจับมาทำอาหาร แต่ทั้งหมดยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะปลาหมอคางดำยังคงแพร่ระบาดอยู่ นอกจากนี้กรมประมงอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยทำให้ปลาหมอคางดำเป็นหมัน เพื่อควบคุมประชากร ลดการแพร่พันธุ์ ซึ่งก็ต้องใช้เวลา
ย้อนรอยปลาหมอคางดำปัญหาที่ยังแก้ไม่สำเร็จเดลินิวส์ขณะเดียวกันนักวิชาการหลายคนได้ออกมาแสดงความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาอย่างหลายหลากวิธี อาทิ ตามแนวทางสากลทั่วโลก ผู้ก่อปัญหาต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบ ซึ่งทางกรมประมงมีงบประมาณไม่มาก เมื่อเทียบกับภารกิจที่ต้องบริหาร งบจึงไม่เพียงพอสำหรับจัดการปัญหาปลาหมอคางดำระบาด ถ้าจะกำจัดให้ได้ผลต้องเริ่มจากจุดที่อยู่ไกลสุดก่อน เนื่องจากจะเป็นจุดที่มีการกระจายพันธุ์น้อยที่สุด ถ้าไม่ทำเช่นนั้นไม่เกิน 10 ปี ปลาหมอคางดำอาจกระจายไปจนถึงประเทศเพื่อนบ้านได้
ย้อนรอยปลาหมอคางดำปัญหาที่ยังแก้ไม่สำเร็จเดลินิวส์สถานการณ์การรุกรานของปลาหมอคางดำเป็นประเด็นที่ต้องหาทางแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน และจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อลดจำนวนและผลกระทบต่อระบบนิเวศและเศรษฐกิจประมงของไทย ก่อนที่เราจะสูญเสียระบบนิเวศท้องถิ่นไปอย่างถาวร…
ย้อนรอยปลาหมอคางดำปัญหาที่ยังแก้ไม่สำเร็จเดลินิวส์很赞哦!(1743)
相关文章
- "ลา ลีกา" สะดุ้งอาจโดนฟ้องหากอนุญาตให้ "บาร์ซา" ลงทะเบียน "โอลโม" | เดลินิวส์
- ทั่วไทย | เดลินิวส์
- "มาสเคราโน" จวกฝ่ายจัดบอลอลป.ไร้มาตรฐานหลัง "ฟ้าขาว" โดนริบประตูคืน | เดลินิวส์
- TV & Entertainment – Page 10 of 589 – THE STANDARD
- แฟนคลับช็อก! แต่ง 40 วัน 'ซาบีน่า' ประกาศเลิก 'อนัน อันวา' แจงเหตุความต้องการไม่ตรงกัน | เดลินิวส์
- ท้องถิ่น | เดลินิวส์
- หมกเม็ด ‘ปลาหมอคางดำ’ | เดลินิวส์
- สุดจึ้ง 'เกรซ กาญจน์เกล้า' โชว์ผิวขาวนุ่งบราไข่มุกสุดหรู ระดับความแซ่บเต็ม10ไม่มีหัก! | เดลินิวส์
- 'กุ้ง สุธิราช'ตามหาเครื่องเพชรหาย เจอเซอร์ไพร้ส์ ลั่นรีบแก้บนด่วนเกือบซวยส่งท้ายปี! | เดลินิวส์
- 'หมอสมิทธิ์'จับตาบอร์ดป.ป.ส.ขู่ฟ้องศาลปกครอง หากตัดทิ้งประกาศสธ.คืนกัญชาเป็นยาเสพติด | เดลินิวส์
热门文章
站长推荐
ชายสูงวัยป่วยเบาหวานจนต้องตัดนิ้ว ไม่สามารถร่วมกิจกรรมทางเพศกับภรรยาได้ | เดลินิวส์
เสพสมบ่มิสม : การหลั่งอสุจิเร็วกว่าปกติ ปัญหาใหญ่ของผู้ชาย(ตอนที่3) | เดลินิวส์
100 ปีแล้ว Olympic จะกลับมาที่ Paris อีกครั้ง และจะเป็น Olympic ที่ยั่งยืนที่สุดเท่าที่เคยมีมา | เดลินิวส์
วิน เมธวิน ได้รับรางวัล Outstanding Asian Star จากเวที Seoul International Drama Awards 2024
'มท.' มอบของขวัญปีใหม่ 18 โครงการ 'บำบัดทุกข์ บำรุงสุข' พี่น้องประชาชน | เดลินิวส์
ยืนยันการรับซื้อปลาหมอคางดำ ผลิตน้ำหมักชีวภาพชอบด้วยกฎหมาย | เดลินิวส์
เดลินิวส์ 25 ก.ค. ลงทะเบียน “ดิจิทัล” ดีเดย์มีสมาร์ทโฟน 1 ส.ค. - 15 ก.ย. | เดลินิวส์
เสพสมบ่มิสม : การหลั่งอสุจิเร็วกว่าปกติ ปัญหาใหญ่ของผู้ชาย(ตอนที่3) | เดลินิวส์